ประวัติหน่วยงาน
โรงเรียนบ้านคูบตั้งอยู่บ้านเลขที่ 199 หมู่10 บ้านโนนชมพู ตำบลคูบอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 รหัสไปรษณีย์ 33130 โทรศัพท์ 045-826146 website http://www.Bankoob.ac.th. และ Facebook โรงเรียนบ้านคูบ
1.1 ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านคูบตั้งเมื่อ พ.ศ. 2466 โดยนายหรั่ง เสียงเพราะ โดยอาศัยศาลาวัดบ้านคูบหมู่ที่ 4 ตำบล
น้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ มีนักเรียนทั้งสิ้น 157 คนเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป. 1 – 4
พ.ศ. 2485 ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 1,000 บาทจากทางราชการสร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศในเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งานจากการบริจาคของชุมชนปรับปรุงในปี พ.ศ. 2487 ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมต่อเติมอาคารเรียนเป็น 3 ห้องเรียนและพัฒนาจนเป็นอาคารเรียน จำนวน 3 หลัง
ปี พ.ศ. 2520 เปิดขยายชั้นเด็กเล็กและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
ปี พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการให้ใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
ปี พ.ศ. 2523 ได้มีกฎหมายโอนโรงเรียนประชาบาลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยไปสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ. 2526 นายสุนทรคูณโคตรผู้บริหารโรงเรียนในตอนนั้นได้ประสานและขอความอนุเคราะห์จากชุมชน ได้บริจาคที่ดิน จำนวน 20 ไร่ ให้แก่ทางราชการ (บริเวณคูบนอกในปัจจุบัน) ได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบสปช. 105/26 จำนวน 8 ห้องเรียน แบบสปช.05/29 จำนวน 1 หลัง อาคารเอนกประสงค์บ้านพักครูเรือนแถวบ้านพักภารโรง บ่อเลี้ยงปลา ถังเก็บน้ำฯลฯ
ปี พ.ศ. 2529 เปิดขยายชั้นอนุบาล 1 (อนุบาลเอกชน) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปี พ.ศ. 2534 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ 2545 โรงเรียนบ้านคูบเป็นโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่ 2544
ปี พ.ศ 2545 – 2554 องค์การแพลนประเทศไทยให้การสนับสนุนและพัฒนา
ปี พ.ศ .2546 โรงเรียนจัดการเรียนการสอนร่วมกับการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
ปี พ.ศ .2548 โรงเรียนยุวเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ
ปี พ.ศ .2550 โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนอนุบาลเครือข่ายสหวิทยาเขต จังหวัดศรีสะเกษ
ปี พ.ศ. 2554 ผ่านการประเมินจาก สมศ.รอบที่ 3 ( 7-9 มิถุนายน 2554 )
ปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนบ้านคูบเป็นโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 3 (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) 22 มิถุนายน 2554
ปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนบ้านคูบได้รับงบประมาณจัดทำถนนคอนกรีต จากกรมทางหลวงชนบท ประสานงานโดย สจ.คำ คำผง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เขต อำเภอน้ำเกลี้ยง
ปี พ.ศ. 2555 โรงเรียนบ้านคูบได้รับงบประมาณจัดทำถนนคอนกรีตและปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในโรงเรียนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษเขต 1
ปี พ.ศ. 2555 โรงเรียนบ้านคูบได้รับการสนับสนุนจากบริษัท TOT ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (เรียน รู้ เล่น )
ปี พ.ศ 2556 โรงเรียนผ่านการประเมินการรักษาสภาพโรงเรียนในฝัน เน้นคุณธรรม จริยธรรรม และบูรณาการศิลธรรมในโรงเรียน 25 ธันวาคม 2556
ปี พ.ศ. 2557 โรงเรียนบ้านคูบได้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนงานอาชีพโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษเขต 1
ปี พ.ศ. 2558
– โรงเรียนศูนย์แนะแนว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1
-โรงเรียนแกนนำลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
- ปี พ.ศ. 2559
– โรงเรียนป้องการสารเสพติด ในสถาศึกษา
– โรงเรียนศิล 5 สถานศึกษาอยู่อย่างพอเพียง
ปี พ.ศ. 2560 โรงเรียนนำร่องการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน
ปี พ.ศ. 2561 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลคูบ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านคูบ
ตำแหน่งผู้อำนวยการ | ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ | ||||
ที่ | ชื่อ-สกุล | พ.ศ | ที่ | ชื่อ-สกุล | พ.ศ |
1 | นายหรั่ง เสียงเพราะ | 2466-2467 | 1 | นายชัชพงษ์ คำเพราะ | 2527-2559 |
2 | นายบุญทัน บัวแย้ม | 2467-2470 | 2 | นายองอาจ ภารพัฒน์ | 2531-2536 |
3 | นายจอม พวงสวัสดิ์ | 2470-2474 | 3 | นางสุวัลยา โสพัฒน์ | 2537-2538 |
4 | นายเที่ยง ไวยหงษ์ | 2474-2474 | 4 | นายสำเริง สำนักนิตย์ | 2539-2540 |
5 | นายศรี ธิมา | 2474-2477 | 5 | นายรังษี บุญทรง | 2538-2541 |
6 | นายกว้าง ทองศรี | 2477-2479 | 6 | นายจิรา เทพสิทธา | 2543-2545 |
7 | นายสิงห์ ทองศรีมา | 2479-2481 | 7 | นายประมวล บุญชิต | 2558-2559 |
8 | นายเรียง บุญมี | 2481-2482 | 8 | นายอัมพร ทองงอก | 2564-ปัจจุบัน |
9 | นายเต็ม บุญแหม | 2482-2484 | |||
10 | นายธำรงค์ วงศ์พานิช | 2484-2487 | |||
11 | นายสันต์ ตุยาศัย | 2487-2499 | |||
12 | นายบุญจันทร์ บัวจูม | 2499-2500 | |||
13 | นายบัญญัติ แก้วอุดม | 2500-2524 | |||
14 | นายสันต์ ศรีสุธรรม | 2524-2525 | |||
15 | นายสุนทร คูณโคตร | 2525-2536 | |||
16 | นายบุญเกิด นวลงาม | 2536-2537 | |||
17 | นายประครอง พันธ์พรหม | 2537-2541 | |||
18 | นายสุรสิทธิ์ แสไพศาล | 2541-2546 | |||
19 | นายสุทิน ไชยานุกูล | 2546-2555 | |||
20 | นายธวัชชัย สุภาพ | 2555-2558 | |||
21 | นายสำเริง สำนักนิตย์ | 2558-2564 | |||
22 | นายทองใจ ทิพย์รักษา | 2564-ปัจจุบัน |
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านคูบ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผู้บริหารตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 21 คน สำหรับผู้บริหารคนปัจจุบัน คือ นายสำเริง สำนักนิตย์ มีนักเรียนจำนวน 363 คน ครู 16 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ครูเด็กพิเศษ 1 คน ครูอัตราจ้าง(โรงเรียน) 3 คน พนักงานพัสดุ 3 จำนวน 1 คน นักการภารโรงอัตราจ้าง จำนวน 1 คน ครูธุรการ 1 คน แม่ครัว จำนวน 2 คนและแม่บ้าน CPF จำนวน 2 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 33 คน
1.2 ลักษณะที่ตั้ง
เขตพื้นที่การให้บริการศึกษาของโรงเรียนบ้านคูบ ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 5 หมู่ บ้านคูบ ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคูบ หมู่ 3 ,4 , 9 บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 2 และบ้านโนนชมพู หมู่ที่ 10
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านผักบุ้ง อำเภอกันทรารมย์ บ้านโนนยาง และบ้านโนนเชียงสี
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านสะเต็ง และบ้านหนองแวง อำเภอน้ำเกลี้ยง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านพะแนง บ้านอาลัย อำเภอกันทรารมย์
เส้นทาง จากโรงเรียนบ้านคูบ ถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1
45 กิโลเมตร (เส้นทาง ศรีสะเกษ –กันทรารมย์ –โรงเรียนบ้านคูบ) จากโรงเรียนถึงอำเภอน้ำ เกลี้ยง 9 กิโลเมตร และจากโรงเรียนถึงอำเภอ กันทรารมย์ 16 กิโลเมตร
1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
เขตพื้นที่บ้านคูบ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มๆดอน ๆ เป็นพื้นที่ทำนาเป็นส่วนใหญ่ ป่าไม้แทบไม่มีให้เห็นแล้ว ซึ่งป่าสงวนก็ถูกบุกรุก จากนายทุนจากที่อื่น เช่นป่าทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ริมห้วยทา สวนป่าละเอาะ(ป่าไม้ถูกบุกรุกและจับจองปลูกยางพาราจากนายทุน) มีแม่น้ำที่สำคัญคือห้วยทา ไหลลงไปบรรจบที่ห้วยขะยุงนอกจากนี้ยังมีลำห้วยขนาดเล็ก เช่นร่องน้ำคำ ร่องสลักได อ้างเก็บน้ำ เช่น หนองพาน หนองคูบ หนองสมัน หนองลุมภู จึงทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและสัตว์น้ำมากมาย
1.4 สภาพสังคมการปกครอง
1.การปกครอง ในเขตความรับผิดชอบของเขตพื้นที่ การบริการของโรงเรียนบ้านคูบประกอบด้วย เขตการปกครอง 3 หมู่บ้านคือ บ้านคูบ 3 หมู่ (3,4,9 ) บ้านโนนชมพู หมู่ (10) บ้านสร้างแก้ว หมู่(2)
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
1.กำนันตำบลคูบ(หมู่ 4) นางสุจิตรา อาษากิจ
2.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ( บ้านสร้างแก้ว ) นายบุญเลิศ พรำนัก
3.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 นายสุพรม สิงห์ซอม
4.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 นางสุจิตรา อาษากิจ
5.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 นายทศพล เหลียวสูง
6.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 นายไชยเรศ กันภัย
2. ประชากรในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนบ้านคูบส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่น
การทำนา เลี้ยงสัตว์(วัว ควาย )ทำไร่ (ปลูกพริก ข้าวโพด แตงกวา มันสำปะหลัง ยางพารา)และ รับจ้างทั่วไป
1.5 ด้านการเมืองเขตพื้นที่ ของโรงเรียนบ้านคูบมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคูบ ดังนี้
1) สมาชิก อบต. 10 คนคือ
1.นางนวลจันทร์ พรำนัก หมู่ 2
2.นายสงวน แก้ววงษา หมู่ 2
3.นายทองสิทธิ์ สิงห์ซอม หมู่ 3
4.นายสันติ สาธนู หมู่ 3
5.นายไสว สิงห์ซอม หมู่ 4
6.นายสมุย ไกรษี หมู่ 4
7.นายวันเพ็ญ นวลงาน หมู่ 9
8.นายสงวน สิงห์ซอม หมู่ 9
9.นายคำ ดาดี หมู่ 10
10.นายเพชร จันทร์ถา หมู่ 10
1.6 ด้านศาสนาประชากรใน พื้นที่เขตบริการศึกษาของโรงเรียนบ้านคูบ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 100 % มีศาสนสถานที่เป็นวัด 3 แห่งได้แก่ วัดบ้านคูบ วัดบ้านโนนชมพู วัดป่ากุดนาแพง(บ้านสร้างแก้ว)
1.7 ด้านวัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเผ่าส่วย(กูย) และเผ่าลาว เป็นบางส่วนมีดอนปู่ตา(ป่าหนองเหล็ก)อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านและ มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่กลมกลืนกัน สภาพสังคมเป็นสังคมชนบทที่ดูดซับเอาความเจริญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดำรงชีวิต กิจกรรมทางศาสนา เช่น บุญเผหวด บุญผ้าป่า บุญข้าวจี่ บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก กิจกรรมทางความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บไข้ เช่น การรำผีฟ้า การเล่นแถน ความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน เช่น การแห่นางแมว บุญประเพณีบั้งไฟ
1.8 ด้านการศึกษา
ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนบ้านคูบจัดการศึกษา คือ ระดับอนุบาล
( อ1-2 ) ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3) ช่วงชั้นที่ 2 ( ป.4-6 )และช่วงชั้นที่ 3 ( ม.1-3 ) รวม 363 คน
โรงเรียนบ้านคูบ บริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีองค์คณะบุคคลที่เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. นายชัชพงษ์ คำเพราะ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ
2. นายนายพงษ์สิน แก้วแดง ผู้แทนครู กรรมการ
3. นายสมภาร สิงห์ซอม ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ
4. นายธนพัฒน์ เหลียวสูง ผู้ผู้แทนองค์กรชุมชน กรรมการ
5. นายวิจิตร สิงห์ซอม ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ
6. นางจุฑามาศ พงษ์พิลา ผู้แทนศิษย์เก่า กรรมการ
7.นายสุริยา สิงห์ซอม ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ
8.นายไชยเรศ กันภัย ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ
9.นายประไพ ไกรษี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
10.นางสุจิตรา อาษากิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
11.นายบุญเลิศ พรำนัก ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
12.นายพีระเดช พิอนิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
13.นายคณิต สิงห์ซอม ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
14.นายสุพรม สิงห์ซอม ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
15.นายสำเริง สำนักนิตย์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการและเลขานุการ
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
๑. จัดทํานโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนบริบทและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
๒. จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
๓. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น
๔. จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๕. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
๖. กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตามแผนงาน โครงการและประเมินผลการปฏิบัติงานตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดําเนินการทางวินัยกบครูและบุคลากร ทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
๗. ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บํารุงรักษา ใช้และจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
๘. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งการรายงานผลการประเมินตอคณะกรรมการสถานศึกษาและสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สภาพการจัดการศึกษาศึกษา
โรงเรียนบ้านคูบ เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต1 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมาตร 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยมีโครงสร้าง ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารงบประมาณ
1.1 นายอนันต์ ศรีโสภา หัวหน้าบริหารงบประมาณ
1.3 นางเนตรนภา กล้วยน้อย เจ้าหน้าที่การเงิน( งานบัญชี)
1.4 นางสุพรรษา โมฆรัตน์ เจ้าหน้าที่การเงิน (สวัสดิการ)
1.4 นายพงษ์สิน แก้วแดง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
1.5 นางเนตรนภา ชินกฤติ เจ้าหน้าที่พัสดุ
1.6 นางดาวเรือง ทองสุ เจ้าหน้าที่พัสดุ
1.7นางสาวสุภมาศ ชะโน เจ้าหน้าที่พัสดุ
2.ฝ่ายบริหารวิชาการ
2.1 นางอุไร พวงพลอย หัวหน้างานบริหารวิชาการ
2.3 นางสาวจรัญญา ศรีเมือง เจ้าหน้าที่งานวิชาการ (ทะเบียน)
2.4 นางสาวอรุโณทัย ระหา เจ้าหน้าที่งานวิชาการ(อนุบาล)
2.5 นายธีระพงษ์ ศรีอรห์ เจ้าหน้าที่งานวิชาการ (ทะเบียน) (วัดผล)
2.6 นางสาวพัชริดา ไกรษี เจ้าหน้าที่งานวิชาการ(ข้อมูลนักเรียน)
3.ฝ่ายบริหารงานบุคคล
3.1 นางธิดาพรรณ แก้วแดง หัวหน้างานบริหารงานบุคคล
3.2 นางสาวจรัญญา เรืองศรี เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล
4.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
4.1 นางอิศยาภรณ์ สายธนู หัวหน้างานบริหารทั่วไป( ห้องสมุด)(สภานักเรียน)
4.2 นายอนันต์ ศรีโสภา เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (กีฬา)
4.3 นายพงษ์สินแก้วแดง เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (อาคาร)(ลูกเสือ)
4.5นางพรพิมล ศรีโสภา เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (วันสำคัญ )
4.6นางสุธีนุช เพ็ชรัตน์ เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (สหกรณ์ )
4.8 นางสาวสุพรรษา ชินวงศ์ จ้าหน้าที่บริหารทั่วไป( อาหารกลางวัน)
4.10นางสาวจรัญญา เรืองศรี เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน)(งานสารบัญ)
4.11นางสุธีนุช เพ็ชรรัตน์ เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (งานสหกรณ์)
4.12นายธัญพิสิษฐ์ ไชยโคตร์ เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน
4.13 นางสาวสุภามาศ ชะโน เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป(อาหารกลางวัน)
4.14นางสาวจุฬาลักษณ์ มาสุข เจ้าหน้าที่เด็กพิเศษ
4.15นายถนอม สิงห์ซอม เจ้าหน้าที่ห้องดนตรี
4.16นายภัทรพงษ์ แสนทวีสุข เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
4.17นายกิตติพัฒน์ กอบเกื้อ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ (พละ)
4.18นายณัฐพงษ์ ภัคดีวงศ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ (พละ)
4.19นางสาวน้ำฝน บุญโฮม นักศึกษาฝึกประสบการณ์ (ปฐมวัย)
4.20นางสาวเสาวลัษณ์ หาญบำราช นักศึกษาฝึกประสบการณ์ (ปฐมวัย)
1.9 การบริหารจัดการศึกษา
โรงเรียนบ้านคูบ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงบประมาณ ฝ่ายบริหารบุคคลและฝ่ายบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหาร / เทคนิคการบริหารแบบการพัฒนาตามกระบวนการ PDCA